วิสัยทัศน์ของโครงการ

“ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรมไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่”

ที่มาของโครงการ

         ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้าย (Mobility) บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากภาคมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานในภาคเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคเอกชน รวมถึงสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ มหาวิทยาลัย และสถานประกอบการให้เข้มแข็งโดยก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่และถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคเอกชน อันจะนำมาไปสู่การเป็นสังคมฐานความรู้ที่มีความเข้มแข็ง เกิดการพัฒนาระบบการจัดการทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ เป็นกลไก ขับเคลื่อนที่ส าคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่น มีพันธกิจหลัก 4 ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภายใต้ปรัชญา วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า “สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่น และชี้นำแก้ปัญหาท้องถิ่นและสังคม” มียุทธศาสตร์การบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์อย่างมีส่วนร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และองค์กรท้องถิ่น เพื่อสร้างองค์ความรู้เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดสู่ผู้ใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย เชิงพาณิชย์ เชิงวิชาการ และเชิงพื้นที่เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและสังคม มีระบบและกลไกการทำงานเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมเป็นต้นแบบเพื่อการเรียนรู้และขยายผลสู่สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ

         จากพันธกิจ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ ศักยภาพและความพร้อมของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนและพัฒนาโครงการส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility) ตามนโยบายของ สวทน. ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน 2562 ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการย่อยที่ 1-2559 และ โครงการย่อย 1/2560 โครงการส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility) ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาและบริหารจัดการศักยภาพทุนมนุษย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

         โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อให้ดำเนินการโครงการส่งเสริมให้บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ในสถาบันอุดมศึกษา ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่อง การสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ Talent Mobility ในสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานในภาคเอกชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคเอกชน
  2. เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ มหาวิทยาลัย และภาคเอกชนให้เข้มแข็งโดยก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่และถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคเอกชน ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาภาคเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ
  3. เพื่อดำเนินกิจกรรมส่งเสริมภาคเอกชนโดยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และดำเนินกิจกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐ

หลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ

  1. บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ต้องมีหน่วยงานต้นสังกัดเป็นมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยของภาครัฐ
  2. บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ต้องไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 เดือนแต่ไม่เกิน 2 ปี
  3. กิจกรรมของสถานประกอบการที่รองรับการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้
    • การวิจัยและพัฒนา
    • การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคและวิศวกรรม
    • การวิเคราะห์ทดสอบและระบบมาตรฐาน
    • การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  4. สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทย ได้แก่ บริษัท ห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนจำกัด มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน

 

Talent Mobility

สำนักงาน Talent Mobility มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ชั้น 3 อาคาร 12 เรือนต้นสัก

เลขที่ 27 ถนนอินใจมี ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง

จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000

ติดต่อ

  • เบอร์โทรศัพท์ 055-416601 ต่อ 1918
  • มือถือ 086-5396295 (ผศ.ไชยยันต์ ชนะพรมมา)
  • Email : tony_1182912@hotmail.com

เวลาทำการ